บทความ

การเขียนข้อสอบวัดด้านความรู้ – ความจำ (Knowledge)

การเขียนข้อสอบวัดความรู้ คือการวัดสมรรถภาพสมองด้านการระลึกได้จากเรืองราวที่เคยเรียนมา เคยมีประสบการณ์มา หรือเคยรู้เห็นมาก่อน คำถามประเภทวัดความรู้ –ความจำ แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ 1.1  ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง 1.2  ความรู้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการ

การเขียนข้อสอบด้านการสังเคราะห์ (Synthesis)

              เป็นความสามารถในการรวมสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไปเข้าด้วยกันเพื่อกลายเป็นสิ่งสำเร็จรูปสิ่งใหม่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากส่วนประกอบย่อยๆ เดิม การสังเคราะห์เป็นความสามารถที่ยากกว่าการวิเคราะห์ เพราะต้องใช้ความสามารถจากหลายด้านมาผสมกัน จะต้องผลิตหรือแสดงบางอย่างออกมาให้ปรากฏโดยใช้ความสามารถและความคิดที่เป็นอิสระของตนเองเสมอ เช่น แล้วเลือกใช้คำที่ไพเราะตามความคิดของตนเอง การสังเคราะห์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ -   สังเคราะห์ข้อความ   -   สังเคราะห์แผนงาน -   สังเคราะห์ความสัมพันธ์   การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย=>

การเขียนข้อสอบวัดด้านการนำไปใช้ (Application)

การนำไปใช้หรือการประยุกต์  เป็นความสามารถในการนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ที่มีอยู่ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่  ที่มีลักษณะเดียวกันได้  การนำไปใช้จึงต้องอาศัยความรู้  ความจำ  รวมทั้งความสามรถในการแปลความ  ตีความ  และขยายปัญหานั้น  แล้วจึงเลือกหลักวิชามาแก้ปัญหา  ลักษณะการนำไปใช้จึงเป็นการปฏิบัติตามหลักวิชาที่เรียนรู้มาตรงๆ ไม่ถือว่าเป็นการนำไปใช้  วิธีเขียนคำถามมี 4 แบบ แบบที่ 1  ถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ  การเขียนคำถามเพื่อวัดความสามารถด้านนี้  เป็นการให้นักเรียนวินิจฉัยว่าการกระทำใด  การปฏิบัติใด  หรือตัวอย่างใด  สอดคล้องกับหลักวิชานั้นๆ ตัวอย่าง 1.ข้อใดเป็นประโยคคำถาม    1.ไม่มีใครรักฉันจริง    2.ใครไปก่อนจะได้เปรียบ    3.ใครจะไปเที่ยวกับฉันบ้าง    4.ใครจะไปเที่ยวกับฉันก็ได้    5.ใครจะไปใครจะมาฉันไม่เกี่ยว             2.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากพวก   ...

การเขียนข้อสอบวัดด้านความเข้าใจ(Comprehension)

ความเข้าใจเป็นความ สามารถในการขยายความรู้ความจำเป็นออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล ดังนั้น ผู้ที่จะมีความเข้าใจในเรื่องใดจะต้องมีพื้นฐานเรื่งอนั้นมาก่อนจึงจะนำความรู้นั้นมาดัดแปลงเพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นที่แปลกออกไปผู้ที่จะมีความสามารถด้านนี้ จึงควรจะต้องมีความสามารถ ดังต่อไปนี้ 1 ) รู้ความหมายและรายละเอียดของเรื่อง 2 ) รู้ความสัมพันธ์ระหว่างรายละเอียดนั้น 3 ) อธิบายรายละเอียดและความสัมพันธ์ได้ด้วยภาษาของตนเอง 4 ) เมื่อพบเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันก็สามารถอธิบายได้ ความเข้าใจสามารถแสดงออกได้โดยการแปลความ ตีความ และขยายความ การวัดความเข้าใจจึงแบ่งได้เป็น 3ระดับคือ -    การแปลความ    -    การตีความ   -    การขยายความ การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย=>

การเขียนข้อสอบด้านการประเมินค่า (Evaluation)

เป็นการตีราคาเรื่องราวหรือสิ่งต่างๆ อย่างมีหลักเกณฑ์ว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าดี เลว เหมาะสม หรือไม่ การประเมินค่าจึงต้องอาศัยเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ใช้เทียบ ดังนั้น การประเมินค่าว่าสิ่งใดดี เลว จะต้องบอกว่าใช้เกณฑ์ใด เพราะของสิ่งหนึ่งอาจจะดีถ้าใช้เกณฑ์อย่างหนึ่ง แต่ถ้าใช้เกณฑ์อย่างหนึ่งอาจจะเลวก็ได้ การประเมินค่าจึงเป็น 2 ชนิด -  การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน -  การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย=>

การเขียนข้อสอบด้านการวิเคราะห์ (Analysis)

เป็นความสามารถในการแยกแยะสิ่งต่างๆ ออกเป็นส่วนย่อยๆ ตามหลักและกฎเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อค้นหาความจริงต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในเรื่องนั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญ ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ หรือส่วนย่อยๆ เหล่านั้น ตลอดจนหลักการที่องค์ประกอบเหล่านั้นจับขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน การวิเคราะห์จึงแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ                     -   วิเคราะห์ความสำคัญ -   วิเคราะห์ความสัมพันธ์ -   วิเคราะห์หลักการ การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย =>

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) - การเขียนข้อสอบวัดความรู้ด้านความจำ(Knowledge) -  การเขียนข้อสอบวัดความรู้ด้านเข้าใจ (Comprehension) -  การเขียนข้อสอบวัดความรู้ด้านการนำไปใช้ (Application) -  การเขียนข้อสอบวัดความรู้ด้านการวิเคราะห์ (Analysis) -  การเขียนข้อสอบวัดความรู้ด้านการสังเคราะห์ (Synthesis) -  การเขียนข้อสอบวัดความรู้ด้านการประเมินค่า (Evaluation)