การเขียนข้อสอบวัดด้านการนำไปใช้ (Application)
การนำไปใช้หรือการประยุกต์ เป็นความสามารถในการนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ที่มีอยู่ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ ที่มีลักษณะเดียวกันได้ การนำไปใช้จึงต้องอาศัยความรู้ ความจำ รวมทั้งความสามรถในการแปลความ ตีความ และขยายปัญหานั้น แล้วจึงเลือกหลักวิชามาแก้ปัญหา ลักษณะการนำไปใช้จึงเป็นการปฏิบัติตามหลักวิชาที่เรียนรู้มาตรงๆ ไม่ถือว่าเป็นการนำไปใช้ วิธีเขียนคำถามมี 4 แบบ
แบบที่ 1 ถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ การเขียนคำถามเพื่อวัดความสามารถด้านนี้ เป็นการให้นักเรียนวินิจฉัยว่าการกระทำใด การปฏิบัติใด หรือตัวอย่างใด สอดคล้องกับหลักวิชานั้นๆ
ตัวอย่าง
1.ข้อใดเป็นประโยคคำถาม
1.ไม่มีใครรักฉันจริง
2.ใครไปก่อนจะได้เปรียบ
3.ใครจะไปเที่ยวกับฉันบ้าง
4.ใครจะไปเที่ยวกับฉันก็ได้
5.ใครจะไปใครจะมาฉันไม่เกี่ยว
2.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากพวก
1.สาวแสนสวย
2.ฉันสวมสีเขียว
3.ผมสงสารหมา
4.หมอจ๋าหมาหิว
5.นางงามจักรวาล
แบบที่ 2 ถามขอบเขตของหลักวิชาและการปฏิบัติ เป็นการวัดความสามารถในการนำไปใช้ในสภาพจริง โดยมีหลักการว่า หลักวิชาโดยทั่วไปมักจะมีขอบเขตของการนำไปใช้ หรือมีเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่อาจนำมาใช้ได้
ตัวอย่าง
1.จากวสันตดิลกฉันท์
“โสมส่องสนองชุษณปักษ์ ศุภลักษณ์ลำยองคราว
ยั่วยิ้ม ณ ริมพิภพราว ทิพลาภบำเรอ”
ทำไมคำที่ขีดเส้นใต้จึงอ่านเป็น พิภะพะ
1.เพื่อให้ไพเราะ
2.เป็นความนิยม
3.เพื่อให้เกิดสัมผัสภายใน
4.เพื่อให้ตรงฉันทลักษณ์
5.เพื่อให้อ่านคล่องสละสลวย
2.จากบทไหว้ครู “ข้าขอเคารถอภิวันท์” ทำไมคำที่ขีดเส้นใต้จึงอ่านว่า “อบ”
1.เพื่อให้ไพเราะ
2.เป็นความนิยม
3.เพื่อให้เกิดสัมผัสภายใน
4.เพื่อให้ตรงฉันทลักษณ์
5.เพื่อให้ความหมายถูกต้อง
แบบที่ 3 ถามให้อธิบายหลักวิชา เป็นการถามให้นักเรียนอธิบายหลักวิชาที่ว่าเรื่องนั้น หรือปรากฏการณ์นั้นเกิดจากอะไร วิธีเขียนคำถามชนิดนี้สำคัญอยู่ที่คำตอบ จะต้องเป็นคำอธิบายหลักวิชาของเรื่องราวนั้นๆ ไม่ใช่อ้างหลักวิชาตรงๆ
ตัวอย่าง
1.”เขาเขียนหนังสือด้วยลายมือบรรจง” เพราะเหตุใดคำว่าด้วยจึงเป็นคำสันธาน
1.ขยายกริยา
2.ขยายกรรม
3.ขยายคำนาม
4.เป็นคำเชื่อม
5.อยู่กลางประโยค
แบบที่ 4 ถามให้แก้ปัญหา เป็นการสมมุติสถานการณ์ต่างๆ ให้นักเรียนนำหลักวิชาต่างๆ มาแก้ปัญหา แต่ปัญหาที่จะให้แก้นั้นจะต้องเป็นปัญหาใหม่ที่นักเรียนไม่เคยพบมาก่อน เช่น ยกข้อความสั้นๆมาให้พิจารณา แล้วถามว่าข้อความนี้ใช้คำหรือประโยคใดผิด หรือไม่เหมาะกับข้อความนั้นควรแก้ข้อความนั้นเสียใหม่ว่าอย่างไร
ตัวอย่าง
1.”เส้นผมของหล่อนงามสลวยเหมือนปุยฝ้าย” คำใดใช้ไม่เหมาะสม
1.งาม
2.หล่อน
3.สลวย
4.เส้นผม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น